วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คำไทยและคำที่มาภาษาต่างประเทศ


คำไทยและคำที่มาภาษาต่างประเทศ


      คำ ที่มีใช้อยู่ในภาษาไทยมีทั้งคำที่เป็น "คำไทยแท้" และมีทั้งคำที่เป็น "คำยืม" ซึ่งเป็นคำที่นำมาจากภาษาต่างประเทศที่คนไทยนำมาใช้ในภาษาไทยเพื่อประโยชน์ ทางการสื่อสาร การถ่ายทอดวัฒนธรรม และการศึกษาหาความรู้
         การจำแนกคำไทยและคำยืมจากภาษาต่างประเทศได้ จะเป็นพื้นฐานให้เกิดความเข้าใจเรื่องอิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษา ไทย และเป็นประโยชน์ในการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมให้เข้าถึงอรรถรสยิ่งขึ้น
๑. ลักษณะของคำไทยแท้
       คำไทยแท้ เป็นคำที่มีใช้ดั้งเดิมอยู่ในภาษาไทย คำไทยแท้มีลักษณะสำคัญที่สังเกตได้ ดังนี้
๑.๑ คำไทยแท้มักเป็นคำพยางค์เดียว
       คำไทยแท้มักมีพยางค์เดียว และมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง เมื่อฟังแล้วสามารถเข้าใจได้ทันที เช่น
คำที่ใช้เรียกเครือญาติ      พ่อ    แม่    พี่    น้อง    ป้า    อา    ลุง    ฯลฯ
คำที่ใช้เรียกชื่อสัตว์        ช้าง   ม้า    วัว    ควาย    หมู    หมา    นก    ฯลฯ
คำที่ใช้เรียกธรรมชาติ      ดิน    น้ำ    ลม    ไฟ    อุ่น    เย็น    ร้อน    ฯลฯ
คำที่ใช้เรียกเครื่องใช้      มีด    เขียง    เตียง    ตู้    ครก    ไห    ช้อน    ฯลฯ
คำที่ใช้เรียกอวัยวะ         หัว    หู    หน้า    ตา    ปาก    นิ้ว    แขน    ฯลฯ
ทั้งนี้ มีคำไทยแท้บางคำที่มีหลายพยาค์ มีสาเหตุ ดังนี้
๑) การกร่อนเสียง
      การกร่อนเสียง คือ การที่คำเดิมเป็นคำประสม ๒ พยางค์เรียงกัน เมื่อพูดเร็วๆ ทำให้พยางค์แรก มีการกร่อนเสียงลงไป เช่น หมาก เป็น มะ ตัว เป็นตะ เป็นต้น ทำให้กลายเป็นคำ ๒ พยางค์ เช่น
หมากขาม = มะขาม
ตาวัน = ตะวัน
อันไร = อะไร
ตัวขาบ = ตะขาบ
สาวใภ้ = สะใภ้
ฉันนั้น = ฉะนั้น
๒) การแทรกเสียง
     การแทรกเสียง คือ การเติมพยางค์ลงไประหว่างคำ ๒ พยางค์ ทำให้เกิดเป็นคำหลายพยางค์ เช่น
ลูกตา = ลูกกะตา
นกจอก = นกกระจอก
ผักถิน = ผักกระถิน
ลูกท้อน = ลูกกระท้อน
นกจิบ = นกกระจิบ
ผักเฉด = ผักกระเฉด
๓) การเติมพยางค์หน้า
    การเติมพยางค์หน้า คือ การเติมพยางค์ลงไปหน้าคำพยางค์เดียว หรือสองพยางค์ แล้วทำให้เกิดเป็นคำหลายพยางค์ เช่น
โจน = กระโจน
เดี๋ยว = ประเดี๋ยว
จุ๋มจิ๋ม     = กระจุ๋มกระจิ๋ม
ทำ = กระทำ
ท้วง = ประท้วง
ดุกดิก = กระดุกกระดิก


๑.๒ คำไทยแท้มักมีตัวสะกดตรงตามมาตรา
       ลักษณะ การสังเกตคำไทยแท้อีกประการหนึ่ง คือ คำไทยแม้มักจะมีตัวสะกดตรงตามมาตรา     กล่าวคือ อักษรที่นำมาเขียนเป็นตัวสะกดจะตรงกับมาตราตัวสะกด เช่น แม่กด ใช้ ต สะกด เป็นต้น
๑) แม่กก
มาตราแม่กก ใช้ ก เป็นตัวสะกด เช่น รัก  ลูก  ฉาก  โบก  จิก ตัก  ปีก  เด็ก  จุก  เปียก
๒) แม่กด
มาตราแม่กด ใช้ ด เป็นตัวสะกด เช่น คด   เบียด     จุด  ปูด  เช็ด  เลือด  แปด อวด  ราด
๓) แม่กบ
มาตราแม่กบ ใช้ บ เป็นตัวสะกด เช่น จับ  โอบ ชอบ  เสียบ  ซูบ เกือบ  ดาบ ลบ     เล็บ สิบ
๔) แม่กง
มาตราแม่กง ใช้ ง เป็นตัวสะกด เช่น ขัง   โยง  วาง  เล็ง  ปิ้ง  กรง  ซึ่ง  ถุง  งง  ดอง
๕) แม่กน
มาตราแม่กน ใช้ น เป็นตัวสะกด เช่น คั้น จาน ชื้น เส้น     ฉุน  โล้น     แบน  กิน    ล้วน นอน
๖) แม่กม
มาตราแม่กม ใช้ ม เป็นตัวสะกด เช่น จาม ตุ่ม  อิ่ม เสียม   ซ้อม  แก้ม   เต็ม  คุ้ม   ท้วม ล้ม
๗) แม่เกย
มาตราแม่เกย ใช้ ย เป็นตัวสะกด เช่น ชาย เย้ย   เคย  รวย  โกย  เมื่อย   คุ้ย  สาย  คอย  ตาย
๘) แม่เกอว
มาตราแม่เกอว ใช้ ว เป็นตัวสะกด เช่น ข้าว  เปลว   คิ้ว  เร็ว   เหว   หนาว   แก้ว  นิ้ว   เลี้ยว  สาว


๑.๓ คำไทยแท้ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อแสดงลักษณะทางไวยากรณ์
      คำ ในภาษาอื่นๆ อาจมีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อลักษณะทางไวยากรณ์ เพื่อบอก เพศ พจน์ กาล ขณะที่ในภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำ แต่จะอาศัยการใช้คำขยายมาประกอบ เช่น
นก =   นกตัวผู้  (แสดงเพศชาย)
คน = คนเดียว(แสดงเอกพจน์)
นี้ =  พรุ่งนี้ (แสดงอนาคต)


๑.๔ คำไทยแท้มักมีรูปวรรณยุกต์กำกับ
       คำไทยแท้มีการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ เพื่อให้เกิดระดับเสียงต่างกัน ทำให้คำมีความหมายมากขึ้นไปด้วย ซึ่งทำให้มีคำใช้ในภาษาไทยมากขึ้น เช่น
ปา = ขว้าง
ป่า = ที่รกด้วยต้นไม้
ป้า  =  พี่สาวของพ่อหรือแม่


ขาว =  ชื่อสีชนิดหนึ่ง 
ข่าว =  คำบอกเล่า เรื่องราว
ข้าว =  อาหารประเภทหนึ่ง


๑.๕ คำไทยแท้มีลักษณะนามใช้
       ลักษณะนามเป็นนามที่บอกลักษณะของนามที่อยู่ข้างหน้า ซึ่งในภาษาไทยจะใช้คำเหล่านี้แตกต่างจากภาษาอื่นชัดเจน เช่น
ลักษณะนามบอกชนิด   หนังสือ ๒ เล่ม  พระภิกษุ ๕ รูป
ลักษณะนามบอกอาการ  พลู ๓ จีบ ดอกไม้ ๓ กำ
ลักษณะนามบอกรูปร่าง   แหวน ๑ วง ดินสอ ๒ แท่ง
      ลักษณะของตัวการันต์ มักเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ เพราะในภาษาไทยจะไม่นิยมใช้การันต์ เช่น โล่ เท่   เสา กา  อิน  ขาด  จัน  ปา  วัน  จัก


๑.๗ คำไทยแท้ไม่นิยมใช้พยัญชนะบางตัวที่เขียนยาก
      คำไทยแท้มักจะไม่นิยมใช้พยัญชนะบางตัว เช่น ฆ  ฌ  ญ  ฎ  ฏ  ฐ  ฑ  ฒ  ณ  ธ  ภ  ศ  ษ  ฬ  และสระ ฤ  ฤๅ ยกเว้นคำไทยแท้บางคำ ดังนี้
     เฆี่ยน   ใหญ่   ฆ่า    ณ   ฆ้อง   ธ   ระฆัง   เธอ   หญิง   ศอก   ศึก  อำเภอ

๑.๘ การใช้ ใอ และ ไอ ในคำไทย

      คำ ที่ออกเสียง อัย ใช้รูปไม้ม้วน ( ใ ) มีใช้เฉพาะคำไทยเพียง ๒๐ คำ เท่านั้น ได้แก่ ใหญ่  ใหม่  (สะ)ใภ้  ใช้  ใฝ่  ใจ  ใส่  (หลง)ใหล  ใคร  ใบ  ใส  ใด  ใน  ใช่  ใต้  ใบ้  ใย  ใกล้  ให้
นอกนั้นใช้ไม่มลาย เช่น ไจ  ไกล  ไส้  ไป  ไข  ไอ  ฯลฯ แต่คำที่ใช้ไม้มลายประกอบ ย (ไ - ย) และไม้หันอากาศ ประกอบ ย( ั - ย) มักเป็นคำไทยที่มาจากภาษาอื่น เช่น ไวยากรณ์ มาลัย ไตร อสงไขย เป็นต้น
เอกสารแนบ:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น