วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คำไทยและคำที่มาภาษาต่างประเทศ


คำไทยและคำที่มาภาษาต่างประเทศ


      คำ ที่มีใช้อยู่ในภาษาไทยมีทั้งคำที่เป็น "คำไทยแท้" และมีทั้งคำที่เป็น "คำยืม" ซึ่งเป็นคำที่นำมาจากภาษาต่างประเทศที่คนไทยนำมาใช้ในภาษาไทยเพื่อประโยชน์ ทางการสื่อสาร การถ่ายทอดวัฒนธรรม และการศึกษาหาความรู้
         การจำแนกคำไทยและคำยืมจากภาษาต่างประเทศได้ จะเป็นพื้นฐานให้เกิดความเข้าใจเรื่องอิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษา ไทย และเป็นประโยชน์ในการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมให้เข้าถึงอรรถรสยิ่งขึ้น
๑. ลักษณะของคำไทยแท้
       คำไทยแท้ เป็นคำที่มีใช้ดั้งเดิมอยู่ในภาษาไทย คำไทยแท้มีลักษณะสำคัญที่สังเกตได้ ดังนี้
๑.๑ คำไทยแท้มักเป็นคำพยางค์เดียว
       คำไทยแท้มักมีพยางค์เดียว และมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง เมื่อฟังแล้วสามารถเข้าใจได้ทันที เช่น
คำที่ใช้เรียกเครือญาติ      พ่อ    แม่    พี่    น้อง    ป้า    อา    ลุง    ฯลฯ
คำที่ใช้เรียกชื่อสัตว์        ช้าง   ม้า    วัว    ควาย    หมู    หมา    นก    ฯลฯ
คำที่ใช้เรียกธรรมชาติ      ดิน    น้ำ    ลม    ไฟ    อุ่น    เย็น    ร้อน    ฯลฯ
คำที่ใช้เรียกเครื่องใช้      มีด    เขียง    เตียง    ตู้    ครก    ไห    ช้อน    ฯลฯ
คำที่ใช้เรียกอวัยวะ         หัว    หู    หน้า    ตา    ปาก    นิ้ว    แขน    ฯลฯ
ทั้งนี้ มีคำไทยแท้บางคำที่มีหลายพยาค์ มีสาเหตุ ดังนี้
๑) การกร่อนเสียง
      การกร่อนเสียง คือ การที่คำเดิมเป็นคำประสม ๒ พยางค์เรียงกัน เมื่อพูดเร็วๆ ทำให้พยางค์แรก มีการกร่อนเสียงลงไป เช่น หมาก เป็น มะ ตัว เป็นตะ เป็นต้น ทำให้กลายเป็นคำ ๒ พยางค์ เช่น
หมากขาม = มะขาม
ตาวัน = ตะวัน
อันไร = อะไร
ตัวขาบ = ตะขาบ
สาวใภ้ = สะใภ้
ฉันนั้น = ฉะนั้น
๒) การแทรกเสียง
     การแทรกเสียง คือ การเติมพยางค์ลงไประหว่างคำ ๒ พยางค์ ทำให้เกิดเป็นคำหลายพยางค์ เช่น
ลูกตา = ลูกกะตา
นกจอก = นกกระจอก
ผักถิน = ผักกระถิน
ลูกท้อน = ลูกกระท้อน
นกจิบ = นกกระจิบ
ผักเฉด = ผักกระเฉด
๓) การเติมพยางค์หน้า
    การเติมพยางค์หน้า คือ การเติมพยางค์ลงไปหน้าคำพยางค์เดียว หรือสองพยางค์ แล้วทำให้เกิดเป็นคำหลายพยางค์ เช่น
โจน = กระโจน
เดี๋ยว = ประเดี๋ยว
จุ๋มจิ๋ม     = กระจุ๋มกระจิ๋ม
ทำ = กระทำ
ท้วง = ประท้วง
ดุกดิก = กระดุกกระดิก


๑.๒ คำไทยแท้มักมีตัวสะกดตรงตามมาตรา
       ลักษณะ การสังเกตคำไทยแท้อีกประการหนึ่ง คือ คำไทยแม้มักจะมีตัวสะกดตรงตามมาตรา     กล่าวคือ อักษรที่นำมาเขียนเป็นตัวสะกดจะตรงกับมาตราตัวสะกด เช่น แม่กด ใช้ ต สะกด เป็นต้น
๑) แม่กก
มาตราแม่กก ใช้ ก เป็นตัวสะกด เช่น รัก  ลูก  ฉาก  โบก  จิก ตัก  ปีก  เด็ก  จุก  เปียก
๒) แม่กด
มาตราแม่กด ใช้ ด เป็นตัวสะกด เช่น คด   เบียด     จุด  ปูด  เช็ด  เลือด  แปด อวด  ราด
๓) แม่กบ
มาตราแม่กบ ใช้ บ เป็นตัวสะกด เช่น จับ  โอบ ชอบ  เสียบ  ซูบ เกือบ  ดาบ ลบ     เล็บ สิบ
๔) แม่กง
มาตราแม่กง ใช้ ง เป็นตัวสะกด เช่น ขัง   โยง  วาง  เล็ง  ปิ้ง  กรง  ซึ่ง  ถุง  งง  ดอง
๕) แม่กน
มาตราแม่กน ใช้ น เป็นตัวสะกด เช่น คั้น จาน ชื้น เส้น     ฉุน  โล้น     แบน  กิน    ล้วน นอน
๖) แม่กม
มาตราแม่กม ใช้ ม เป็นตัวสะกด เช่น จาม ตุ่ม  อิ่ม เสียม   ซ้อม  แก้ม   เต็ม  คุ้ม   ท้วม ล้ม
๗) แม่เกย
มาตราแม่เกย ใช้ ย เป็นตัวสะกด เช่น ชาย เย้ย   เคย  รวย  โกย  เมื่อย   คุ้ย  สาย  คอย  ตาย
๘) แม่เกอว
มาตราแม่เกอว ใช้ ว เป็นตัวสะกด เช่น ข้าว  เปลว   คิ้ว  เร็ว   เหว   หนาว   แก้ว  นิ้ว   เลี้ยว  สาว


๑.๓ คำไทยแท้ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อแสดงลักษณะทางไวยากรณ์
      คำ ในภาษาอื่นๆ อาจมีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อลักษณะทางไวยากรณ์ เพื่อบอก เพศ พจน์ กาล ขณะที่ในภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำ แต่จะอาศัยการใช้คำขยายมาประกอบ เช่น
นก =   นกตัวผู้  (แสดงเพศชาย)
คน = คนเดียว(แสดงเอกพจน์)
นี้ =  พรุ่งนี้ (แสดงอนาคต)


๑.๔ คำไทยแท้มักมีรูปวรรณยุกต์กำกับ
       คำไทยแท้มีการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ เพื่อให้เกิดระดับเสียงต่างกัน ทำให้คำมีความหมายมากขึ้นไปด้วย ซึ่งทำให้มีคำใช้ในภาษาไทยมากขึ้น เช่น
ปา = ขว้าง
ป่า = ที่รกด้วยต้นไม้
ป้า  =  พี่สาวของพ่อหรือแม่


ขาว =  ชื่อสีชนิดหนึ่ง 
ข่าว =  คำบอกเล่า เรื่องราว
ข้าว =  อาหารประเภทหนึ่ง


๑.๕ คำไทยแท้มีลักษณะนามใช้
       ลักษณะนามเป็นนามที่บอกลักษณะของนามที่อยู่ข้างหน้า ซึ่งในภาษาไทยจะใช้คำเหล่านี้แตกต่างจากภาษาอื่นชัดเจน เช่น
ลักษณะนามบอกชนิด   หนังสือ ๒ เล่ม  พระภิกษุ ๕ รูป
ลักษณะนามบอกอาการ  พลู ๓ จีบ ดอกไม้ ๓ กำ
ลักษณะนามบอกรูปร่าง   แหวน ๑ วง ดินสอ ๒ แท่ง
      ลักษณะของตัวการันต์ มักเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ เพราะในภาษาไทยจะไม่นิยมใช้การันต์ เช่น โล่ เท่   เสา กา  อิน  ขาด  จัน  ปา  วัน  จัก


๑.๗ คำไทยแท้ไม่นิยมใช้พยัญชนะบางตัวที่เขียนยาก
      คำไทยแท้มักจะไม่นิยมใช้พยัญชนะบางตัว เช่น ฆ  ฌ  ญ  ฎ  ฏ  ฐ  ฑ  ฒ  ณ  ธ  ภ  ศ  ษ  ฬ  และสระ ฤ  ฤๅ ยกเว้นคำไทยแท้บางคำ ดังนี้
     เฆี่ยน   ใหญ่   ฆ่า    ณ   ฆ้อง   ธ   ระฆัง   เธอ   หญิง   ศอก   ศึก  อำเภอ

๑.๘ การใช้ ใอ และ ไอ ในคำไทย

      คำ ที่ออกเสียง อัย ใช้รูปไม้ม้วน ( ใ ) มีใช้เฉพาะคำไทยเพียง ๒๐ คำ เท่านั้น ได้แก่ ใหญ่  ใหม่  (สะ)ใภ้  ใช้  ใฝ่  ใจ  ใส่  (หลง)ใหล  ใคร  ใบ  ใส  ใด  ใน  ใช่  ใต้  ใบ้  ใย  ใกล้  ให้
นอกนั้นใช้ไม่มลาย เช่น ไจ  ไกล  ไส้  ไป  ไข  ไอ  ฯลฯ แต่คำที่ใช้ไม้มลายประกอบ ย (ไ - ย) และไม้หันอากาศ ประกอบ ย( ั - ย) มักเป็นคำไทยที่มาจากภาษาอื่น เช่น ไวยากรณ์ มาลัย ไตร อสงไขย เป็นต้น
เอกสารแนบ:

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย สาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย ได้แก่ สภาพทางภูมิศาสตร์ คือการมีอาณาเขตใกล้เคียงกัน ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกัน โดยมีการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ การติดต่อค้าขายระหว่างกันและการรับเอาวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ และความคิดความเชื่อทางศาสนา จึงมีการยืมคำในภาษาต่าง ๆ มาใช้มากมาย เช่น ภาษาเขมร จีน พม่า ชวา มลายู อังกฤษ เป็นต้น.....

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
         
สาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย  ได้แก่  สภาพทางภูมิศาสตร์  คือการมีอาณาเขตใกล้เคียงกัน ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกัน โดยมีการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ การติดต่อค้าขายระหว่างกันและการรับเอาวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ และความคิดความเชื่อทางศาสนา จึงมีการยืมคำในภาษาต่าง ๆ  มาใช้มากมาย เช่น  ภาษาเขมร จีน พม่า ชวา มลายู อังกฤษ เป็นต้น

คำยืมจากภาษาเขมร   
           ไทยกับเขมรมีความสัมพันธ์กันมานับพันปี ต่างถ่ายทอดวัฒนธรรมและอารยธรรมซึ่งกันและกัน ในสมัยโบราณ  ไทยได้รับเอา “อักษรขอมบรรจงและขอมหวัด”  มาใช้  ซึ่งไทยถือว่าศักดิ์สิทธิ์  จึงมักมีการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาลงบนแผ่นหิน ใบลาน ใช้ตัวอักษรขอมเขียนคาถาอาคมต่าง ๆ ปรากฏตามพระพิมพ์  เหรียญพระเครื่อง  ตะกรุด  ผ้ายันต์ต่าง ๆ 
คำยืมจากภาษาจีน  
           ไทยกับจีนมีความสัมพันธ์กันทางการทูตและการค้าขายมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยสืบมาจนถึงปัจจุบัน ชาวไทยมาทำมาหากินในประเทศไทย  แต่งงานกับคนไทยจนกลายเป็นพลเมืองไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก  มีการผสมทางด้านวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ตลอดมา  คำยืมในภาษาจีนส่วนใหญ่เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว   มักเป็นคำเรียกสิ่งของเครื่องใช้ อาหาร พืช ผัก ผลไม้ รวมทั้งคำที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน แต่ไทยนิยมนำคำจากภาษาจีนมาใช้ในภาษาพูด ไม่นิยมใช้ในภาษาเขียน
คำยืมจากภาษาอังกฤษ
            คนในโลกยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางและนิยมใช้กันมากที่สุด ไทยเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกที่พูดภาษาอังกฤษมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยทางการค้า เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๕ ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีทูตจากประเทศทางตะวันตกมาเจรจาเรื่องการค้ากับรัฐบาลไทย  พ่อค้าชาวอังกฤษชื่อ  Hunter  เข้ามาค้าขายเป็นคนแรกในกรุงเทพฯ  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีคณะทูตสอนศาสนาเข้ามา และได้นำวิทยาการใหม่ ๆ เช่น  การพิมพ์ การแพทย์ เข้ามาเผยแพร่  คำภาษาอังกฤษจึงเริ่มปรากฏในเอกสารภาษาไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ มากมาย  เช่น ชื่อชนชาติ ชื่อบุคคล ชื่อยศบรรดาศักดิ์ ชื่อประเทศ ชื่อเมือง ชื่อศาสนา เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีคำยืมภาษาอังกฤษปรากฏมากขึ้นในเอกสารประเภทจดหมายเหตุ พระราชหัตถเลขา  พงศาวดาร และคำสามัญ  คำเรียกเครื่องมือเครื่องใช้ เรียกทะเลมหาสมุทรก็มากขึ้นด้วย 
         
สมัยรัชกาลที่ ๕ ภาษาอังกฤษขยายวงกว้างออกไปสู่ประชาชน เพราะมีโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษและวิชาการต่าง ๆ มีศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ พฤกษศาตร์ สัตวศาสตร์เกิดขึ้นมากมายหลังสงครามโลกครั้งที่   คำยืมภาษาอังกฤษหลั่งไหลเข้ามาในภาษาไทยอย่างกว้างขวาง  เพราะมีนักเรียนไทยไปเรียนศึกษาในประเทศแถบยุโรป และอเมริกา การเดินทางระหว่างประเทศ  การสื่อสาร การติดต่อค้าขาย และการขยายตัวของอุตสาหกรรมการค้าในโลก  ตลอดทั้งการรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกด้านต่าง ๆ เช่น ด้านบันเทิง กีฬา  แฟชั่น การแต่งกาย เป็นไปอย่างรวดเร็ว ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อภาษาไทยเป็นอย่างมาก  เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น เรามีคำยืมภาษาอังกฤษทุกรูปแบบ  ทั้งคำทับศัพท์  คำแปลศัพท์ และศัพท์บัญญัติ  การยืมคำภาษอังกฤษมาใช้ในภาษาไทยช่วยเปิดและขยายโลกทัศน์ด้านวิชาการ  เศรษฐกิจ  เทคโนโลยี และวัตถุนิยมแก่คนไทย ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ว่า  “ภาษาอังกฤษเป็นภาษาของผู้มีการศึกษา มีความทันสมัย และอยู่ในสังคมชั้นสูง
คำยืมจากภาษาโปรตุเกส
            ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาโปรตุเกส ได้แก่คำว่า กระดาษ (สันนิษฐานว่าเพี้ยนมากจาก  “กราตัส”)  กะละแม  กะละมัง (ขนม)ปัง  ปั้นเหน่ง หลา เหรียญ  บาทหลวง  เลหลัง  สบู่
คำยืมจากภาษาเปอร์เชีย
            ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เชีย เช่น คำว่า กุหลาบ (มาจากคำว่า Gul Gol แปลว่า กุหลาบ,  ดอกไม้ทั่วไปสีแดง เติม suffix - ab เป็น กุลลาพ  แปลว่า น้ำกุหลาบหรือน้ำดอกไม้เทศ  ไทยนำมาใช้แทนดอกไม้ขนาดย่อม มีกลิ่นหอม  นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ  เช่น เกด คาราวาน ชุกชี ตาด เยียรบับ ตรา ตราชู  ฝรั่ง ราชาวดี  ศาลา  สนม  สักหลาด สุหร่าย  องุ่น  
คำยืมจากภาษาอาหรับ
            ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับได้แก่  กะลาสี  โกหร่าน (พระคัมภีร์กุรอาน)  ระยำ (การลงโทษโดยใช้ก้อนหินขว้างให้ตายเพราะทำผิดประเพณี  ไทยนำมาใช้ในความหมายว่า  ชั่วช้าเลวทราม)
คำยืมจากภาษาทมิฬ – มลายู
        ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาทมิฬได้แก่คำว่า  กะไหล่  กุลี  กานพลู  กำมะหยี่ จงกลนี ตรียัมปวาย ปะวะหล่ำอาจาด กะละออม   กะหรี่ (แกงแขกชนิดหนึ่ง)   ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษามลายู  ได้แก่คำว่า กว้าน พลาย เพลาะ   ฝาละมี   กำมะลอ  สะบ้า   สมิง   กระแจะ   ตวัก  
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
๑.   ทำให้คำในภาษาไทยมีหลายพยางค์เนื่องจากการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้   เช่น
            ภาษาเขมร เช่น เผด็จ  เสวย  กังวล บำเพ็ญ  ถนน
            
ภาษาจีน  เช่น  ตะหลิว  ก๋วยเตี๋ยว เล่าเตง เอี้ยมจุ๊น
            
ภาษาอังกฤษ เช่น  คลินิก สนุกเกอร์  เนกไท  แคชเชียร์
            
ภาษาบาลี-สันสกฤต    เช่น ปรัชญา  กรีฑา   อัคนี  วิทยา   พร  ประเสริฐ
๒.   ทำให้คนไทยมีเสียงควบกล้ำมากขึ้น  เช่น  จันทรา  นิทรา  ทรานซิสเตอร์  เอนทรานซ์  และเพิ่มเสียงควบกล้ำ
ซึ่งไม่มีในภาษาไทย  เช่น  ดรัมเมเยอร์   ดร๊าฟ  เบรก  บรอนซ์  บล็อก ฟรี แฟลช  ฟลอโชว์  ฟลูออรีน
๓.    ทำให้คำไทยมีตัวสะกดมากขึ้น  ปกติคำไทยแท้ ตัวสะกดจะตรงตามมาตรา ซึ่งมีเพียง  8  แม่  แต่คำยืมจาก
ภาษาต่างประเทศจะสะกดไม่ตรงตามมาตรา  ดังตัวอย่าง
                              แม่กก    เช่น    สุข  เมฆ  เช็ค  สมัคร
                              
แม่กด    เช่น    กฎ  รัฐ  กอล์ฟ  ฤทธิ์  พุทธ
                              
แม่กน   เช่น     เพ็ญ   เพียร  สูญ  บอล   คุณ  กุศล
                              
แม่กบ   เช่น     รูป  โลภ กราฟ  กอล์ฟ  
๓.   ทำให้คำในภาษาไทยมีคำศัพท์มากขึ้น  สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม    เช่น
                              
น้ำ          -     อุทก  วารี  คงคา  สาคร  ธาร  ชล  ชโลธร
                             
ผู้หญิง   -       นงเยาว์  นงคราญ  อิตถี  สตรี  กัลยา  สุดา  สมร  วนิดา

คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย

ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่
หน้าแรก  ข่าวการศึกษา  ครูบ้านนอกBLOG  ห้องสมุดความรู้  เนื้อหาในเว็บไซต์ ดูทีวีออนไลน์ ทีวีย้อนหลัง   game เกมส์หลากหลาย รวมเกมส์ที่นี่
ข่าว/บทความ > เรื่องราวจากสมาชิก > คำภาษาต่างประเทศ.........ที่ใช้ในภาษาไทย
คำภาษาต่างประเทศ.........ที่ใช้ในภาษาไทย
+โพสต์เมื่อวันที่ : 5 พ.ค. 2553

Share| แบ่งปันเรื่องนี้ให้เพื่อนที่

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต



คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย
ภาษาจีนภาษาบาลีภาษาสันสกฤตภาษาเขมรภาษาอังกฤษภาษาเปอร์เซียภาษาอาหลับ
โต๊ะมัจฉากษัตริย์เสด็จฟุตบอลกากีกะละสี
เกี๊ยวบุปผาภิกษุเพ็ญเต็นท์กุหลาบการบูร
บะหมี่กีฬารัศมีเสวยเชิ้ตลูกเกดขันที
ก๋วยเตี๋ยวจุฬาลงกรณ์กรรมดำเนินกอล์ฟคาราวานฝิ่น
เกาเหลารัฐศักราชเผดิมคริสต์จารบียีราฟ
ปุ้งกี๋อัคคีสรรเสริญเจริญเทปบัดกรี 
ฮ่องเต้ราชาเกษตรโปรดวิดีโอฝรั่ง 
เฉาก๊วยภัยพระขรรค์เพลิงเทนนิสยี่หร่า 
พะโล้โจรพระกรรณกระบือแบดมินตันราชาวดี 
ตะหลิววิทยาอาศรมบังคมโชว์สนม 
สะละเปา  ทูล สักหลาด 
ลูกเต๋า  ผกา องุ่น 
เซียมซี  ผลาญ   
กะหล่ำ  ลออ   
เถ้าแก่  ไถง   
ยี่ห้อ  แข   
เต้าเจี้ยว  สไบ   
ซีอิ๊ว  โดม   
ตงฉิน  เสนียด   
ตั๋ว  เนียง   
ตุ๋น  บำบัด   
เก้าอี้  ถนน   
ปุ๋ย  ขลาด   
แป๊ะเจี๊ยะ  ทำลาย   
เข่ง  กังวล   
เก๊  ระบำ   
ก๋ง      
งิ้ว      
โอเลี้ยง      
บ๊วย