วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โครงงานของครูจิ๊ด

☆  คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย 
          คำที่ใช้อยู่ในภาษาไทย มีทั้งคำไทยที่คนไทยสร้างขึ้นมาเอง ซึ่งบางทีเรียกกันว่า "คำไทยแท้" กับคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ ซึ่งอาจจะเรียกกันว่า "คำยืม" นักเรียนควรจำแนกคำไทยออกจากภาษาต่างประเทศได้ เพื่อเป็นพื้นฐานความเข้าใจเรื่องอิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย และเป็นประโยชน์ในการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมให้เข้าถึงสุนทรียรสและอรรถรสด้วย
          การจำแนกคำไทยออกจากภาษาต่างประเทศได้ นักเรียนต้องเข้าใจลักษณะของคำไทย และลักษณะของคำภาษาต่างประเทศภาษาต่าง ๆ ที่ไทยยืมมาใช้ในภาษาไทย ดังนี้
        การสังเกตลักษณะคำไทย  ๑. มักเป็นคำพยางค์เดียว เช่น น้อง นั่ง ชม เดือน เห็น ดาว เต็ม ฟ้า
  ๒. สะกดตรงตามมาตรา เช่น เลก วัด นับ กุ้ง จน ลม วาย แล้ว
  ๓. ไม่มีตัวการันต์ เช่น โล่ มน ยัน อิน มีคำไทยแท้ที่มีตัวการันต์อยู่บ้าง ทั้งนี้เนื่องจาก
      การแผลงอักษร เช่น ผิว (ผิว่า, ถ้าว่า, แม้นว่า, หากว่า) แผลงเป็น ผี้ว์
  ๔. ไม่อาจจะอ่านแยกพยางค์ได้  เช่น  (เฉียบ)คม,  วก(วน)  จะไม่อ่านแยกเป็น  
      (เฉียบ-คะ-มะ),  (วะ-กะ-วะ-นะ)
         
ข้อสังเกต         มีคำยืมบางคำที่มีลักษณะเหมือนคำไทยแท้ เช่น แสะ(ม้า)   บาย(ข้าว)  ทั้งสองคำนี้เป็นคำยืมมาจากภาษาเขมร คำยืมลักษณะนี้นักเรียนจะต้องจดจำเป็นพิเศษ เพราะไม่อาจจะสังเกตจากลักษณะที่แตกต่างกันได้
         การสังเกตลักษณะคำภาษาบาลีคำภาษาสันสกฤต(รวมๆกันทั้ง  ๒ ภาษา)  ๑. มักเป็นคำสองพยางค์ขึ้นไป  เช่น  อัชฌาสัย  วัฒนา  ๒. ถ้าเป็นคำพยางค์เดียว มักอ่านออกเสียงแยกพยางค์ได้ในบางบริบท ต่างกับคำไทย
      ที่ไม่ออกเสียงแยกพยางค์ เช่น คม ชน ในบางบริบทอาจจะอ่านแยกพยางค์  เช่น 
      คมนาคม ออกเสียงว่า คะ-มะ-นา-คม, ชนาธิปไตย ออกเสียงว่า ชะ-นา-ทิบ-ปะ-ไต
   
๓.มักสะกดไม่ตรงตามมาตรา เช่น เลข รถ (นอกจากสะกดไม่ตรงตามมาตรา  แล้วยัง
      แสดงว่าเป็นคำบาลีสันสกฤตในลักษณะข้อ ๒ คือ ออกเสียงแยกพยางค์ได้
      เช่น เลขา  รถา)
  ๔. มักมีตัวการันต์ เพราะคำภาษาบาลี-สันสกฤตมักมีหลายพยางค์ เมื่อเรายืมมาใช้
      จึงใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต ( ์ ) ฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียงให้จำนวนพยางค์
      น้อยลง เพื่อให้เข้ากับลักษณะคำไทยที่มีน้อยพยางค์ เช่น พันธุ์ โพธิ์ กาญจน์ กษัตริย์
  ๕. มีการแผลงหรือการเปลี่ยนแปลงสระและพยัญชนะดังนี้
         สระสั้น -->ยาว / ยาว -->สั้น        เช่น  วน(วะ-นะ  หมายถึง  ป่า) --> วนา
                                                              สุริย -->สุรีย, ปีติ -->ปิติ, นีล -->นิล
         
สระอิ  --> สระเอ --> สระไอ        เช่น   หิรัญ-->เหรัญ -->ไหรัญ
         สระอุ  -->  สระเอ  -->  สระไอ     เช่น   
อุรส -->โอรส -->เอารส
                                                               
มหุฬาร -->มโหฬาร -->มเหาฬาร
         ว -->พ,   เช่น   วนา -->พนาทิวา -->ทิพา
         ฏ -->ฎ,   เช่น   กุฏิ --> กุฏีฏีกา --> ฎีกา
         ต -->ด,   เช่น   ตุรงค์ -->ดุรงค์ตารา -->ดารา
         ป -->บ    เช่น   ปัทม์ -->บัทม์
ปิตา -->บิดา
  ๖.ใช้พยัญชนะต่อไปนี้ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ศ ษ ฬ เช่น เมฆ อัชฌาสัย ปัญญา  
     ฎีกา  กุฏิฐาน ครุฑ วัฒนา แพร อาวุธ ภัย ศรี เกษียณ จุฬา
 
       
ข้อสังเกต          มีคำไทยแท้และคำยืมจากภาษาอื่นที่ใช้พยัญชนะในข้อ ๖ อยู่บ้าง ดังนี้
  -มีคำไทยแท้ที่ใช้ ฆ เช่น เฆี่ยน ฆ่า ฆ้อง ระฆัง ตะเฆ่ (เครื่องลากเข็นของหลักรูปเตี้ย ๆ 
   มีล้อ)
  -คำเขมรที่ใช้ ฌ เช่น เฌอ (ไม้ ต้นไม้)
  -คำไทยแท้ที่ใช้ ญ เช่น ใหญ่ หญิง
  -คำไทยแท้ที่ใช้ ฒ เช่น เฒ่า
  -คำไทยแท้ที่ใช้ ธ เช่น ธ ธง เธอ
  -คำไทยแท้ที่ใช้ ศ เช่น ศอก ศึก เศิก เศร้า
  -คำภาษาตะวันตกที่ใช้ ศ ษ เช่น ไอศกรีม อังกฤษ
  -คำเขมรที่ใช้ศ เช่น มาศ (ทอง) เลิศ ศก (ผม) ศรี (ผู้หญิง)
   ศก ที่เป็นคำสันสกฤต มีความหมายว่า ปี เช่น พุทธศก
   ศรี ที่เป็นภาษาสันสกฤต มีความหมายว่า มิ่ง มงคล ความงาม ความเจริญ
  -คำมลายูที่ใช้ ศ เช่น ศรี (พลู)
  
๗. ในการเขียนคำที่มาจากภาษาบาลีมีการตัดตัวสะกดเอาตัวตามมาเป็นตัวสะกด เช่น
        -ตัวสะกดตัวตามเป็นพยัญชนะซ้ำ ตัดตัวสะกดเมื่อตัวตามไม่มีรูปสระกำกับ
         จะไม่มีตัวสะกด  ตัวอย่าง  จิตต + แพทย์  = จิตแพทย์    
                                           เวชช + ภัณฑ์  = เวชภัณฑ์
       -แต่ถ้าตัวตามมีรูปสระกำกับ หรือมีตัวสะกดจะไม่ตัดออก  ตัวอย่าง  เช่น
        
จิตตานุภาพ, อนิจจา , เวชชาชีวะ, บุคคล, กินนร
        -ตัวสะกดตัวตามเป็นพยัญชนะซ้อนในวรรคฏะ มีอยู่ ๒ คู่ คือ _ฏฺฐ และ _ฑฺฒ 
         ถ้าตัวตามไม่มีรูปสระกำกับ  ไม่มีตัวสะกด จะตัดตัวสะกดออก ใช้ตัวตามเป็น
         ตัวสะกด  ตัวอย่าง  เช่น     รัฏฐ + บาล  --> รัฐบาล
                                            อัฏฐ  + บริขาร  --> อัฐบริขาร
       -
แต่ถ้าไม่มีรูปสระกำกับ หรือมีตัวสะกด จะไม่ตัดออก  ตัวอย่าง  เช่น  
                                            รัฏฐาภิบาล    กุฏฐัง
 
         ข้อสังเกต         มีคำบาลีที่ไม่เป็นไปตามหลักที่กล่าวมาเนื่องจากเขียนมาแต่โบราณอย่างนี้ เช่น  
  วิชา (วิชฺชา) นิสสิต (นิสฺสิต) บริเฉท (บริจฺเฉท) อนุสรณ์ (อนุสฺสรณ์) ยุติธรรม 
  (ยุตฺติธรรม) และคำที่เป็นธรรมบัญญัติหรือคำที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น วิปัสสนา
  (วิปัสฺสนา) จิตตภาวนา (จิตฺตภาวนา) จิตตวิสุทธ (จิตฺตวิสุทฺธิ)

  (¯`•¸•´¯) การสังเกตคำบาลีสันสกฤต(แยกบาลี - สันสกฤต) (¯`•¸•´¯)
ภาษาบาลี

 ๑. ภาษาบาลีมีสระ ๘ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ๒.ภาษาบาลีมีพยัญชนะ  ๓๓ ตัว แบ่งตามฐานที่เกิดได้ดังนี้ 
             ก. พยัญชนะวรรคมี ๒๕ ตัว ได้แก่

พัญชนะวรรค/ฐาน

ตัวที่ ๑

ตัวที่ ๒

ตัวที่ ๓

ตัวที่ ๔

ตัวที่ ๕

วรรคที่ ๑ ฐานคอ (กะ)

วรรคที่ ๒ ฐานเพดาน (จะ)

วรรคที่ ๓ ฐานปุ่มเหงือก(ฏะ)

วรรคที่ ๔ ฐานฟัน (ตะ)

วรรคที่ ๕ ฐานริมฝีปาก (ปะ)


       ข. เศษวรรคมี ๘ ตัว ย ร ล ว ส ห ฬํ
  ๓. ภาษาบาลีไม่มี ศ ษ
  ๔.คำทุกคำในภาษาบาลีจะต้องมีตัวสะกดและตัวตาม เช่น 
     วัฑฒนา ฑ เป็นตัวสะกด ฒ  ตัวตาม
         ตัวสะกดและตัวตามในภาษาบาลีจะเป็นไปตามกฎดังนี้
  ก.พยัญชนะวรรคที่เป็นตัวสะกดได้ คือ ตัวที่
 1 3 5
  ข.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 2 ตามได้
  ค.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 4 ตามได้
  ง.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้

      ตัวอย่าง
   ตัวที่ ๑ สะกด ตัวที่ 1 ตาม เช่น สักกะ
   ตัวที่ ๒ สะกด ตัวที่ 2 ตาม เช่น ทุกข์
   ตัวที่ ๓ สะกด ตัวที่ 3 ตาม เช่น อัคคี
   ตัวที่ ๔ สะกด ตัวที่ 4 ตาม เช่น พยัคฆ์
   ตัวที่ ๕ สะกด ตามได้ทุกตัว เช่น องก์ สังข์ สงฆ์ สัญญา

     ข้อสังเกต
 คำบาลีบางคำมีตัวสะกดไม่มีตัวตาม เพราะเดิมมีตัวสะกด เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย
 เราตัดตัวสะกดออก เช่น
     จิต     มาจาก   จิตต       กิต     มาจาก   กิจจ       เขต    มาจาก  เขตต
     รัฐ      มาจาก  รัฏฐ        วัฒน   มาจาก  วัฑฒน    วุฒิ     มาจาก  วุฑฒิ
  ๕. คำภาษาบาลีไม่นิยมคำควบกล้ำ เช่น ปฐม (สันสกฤตใช้ ประถม)
      อินท์ (สันสกฤตใช้ อินทร์
)
  ๖.คำบางคำที่ภาษาบาลีใช้ ฬ ภาษาสันสกฤตใช้ ฑ เช่น

บาลี

สันสกฤต

ครุฬ

ครุฑ

กีฬา

กรีฑา

จุฬา

จุฑา


         ภาษาสันสกฤต  ๑. ภาษาสันสกฤตมีสระ ๑๔ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา
  ๒. ภาษาสันสกฤตมีพยัญชนะ ๓๕ ตัว (เพิ่ม ศ ษ จากภาษาบาลี
)
  ๓. ภาษาสันสกฤตมีตัวสะกดตัวตาม แต่ไม่มีกฎเหมือนภาษาบาลี เช่น  
      บาลีใช้ สัจจ (ตัวที่ ๑ สะกด ตัวที่ ๑ ตาม
)
      สันสกฤตใช้ สัตย (พยัณชนะวรรคสะกด เศษวรรคตาม
)
   ๔. คำในภาษาสันสกฤตนิยมคำควบกล้ำ เช่น พัสตร์ จันทร์
   ๕. คำบางคำในภาษาบาลีใช้ ฬ ภาษาสันสกฤตใช้ ฑ
   ๖. คำว่า "เคราะห์" มีในภาษาสันสกฤตเท่านั้น
   ๗. ภาษาสันสกฤตมีตัว รฺ (ร เรผะ) ซึ่งไทยนำมาใช้เป็น รร ฉะนั้นคำที่มี รร ส่วนหนึ่ง
       ในภาษาไทย จึงมาจากภาษาสันสกฤต

        เปรียบเทียบภาษาสันสกฤตและภาษาบาลี

ภาษาบาลี

ภาษาสันสกฤต

๑. มีสระ ๘ ตัว

๑. มีสระ ๑๔ ตัว (เพิ่ม ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา)

๒. มีพยัญชนะ ๓๓ ตัว

๒. มีพยัญชนะ ๓๕ ตัว (เพิ่ม ศ ษ)

๓ .มีตัวสะกดตัวตาม
    
ตามกฎ

๓. มีตัวสะกดตัวตามไม่ตามกฎ

๔ .ไม่นิยมตัวควบกล้ำ

๔. นิยมตัวควบกล้ำ

๕. ใช้ ฬ

๕. ใช้ ฑ

 

๖. มีคำว่า "เคราะห์"

 

๗. มี รฺ (ร เรผะ) ซึ่งเปลี่ยนเป็น รร ในภาษาไทย


ข้อสังเกต  คำบางคำใช้ ศ ษ แต่เป็นคำไทยแท้ เช่น ศอ ศอก ศึก เศิก ดาษ ดาษดา ฯลฯ

     ตัวอย่างคำภาษาบาลี     กิจ ทัณฑ์ ยาน มัชฌิม พิมพ์ ขัณฑ์ ขันธ์ ขัตติยา บุญ นิพพาน วิชา วุฒิ สามัญ อัคคี 
     สัญญาณ  มัจฉา มเหสี อุตุ อักขร อัชฌาศัย ขณะ ปัจจุบัน อิตถี อัตถุ อัจฉรา ภริยา
     อิทธิ ปกติ วิตถาร  ปัญญา กัญญา กัป
     ตัวอย่างภาษาสันสกฤต

     กษัตริย์ อัศวะ ขรรค์ คฤหัสถ์ บริบูรณ์ อธิษฐาน สวรรค์ ศึกษา วิทยุ นิตย์ ทฤษฎี 
     ปราโมทย์  ไอศวรรย์ จักร อาศัย ปราศรัย วิเศษ มรรค มัธยม สถาปนา ปรัชญา 
    อมฤต สถาน จักษุ รัศมี  ภรรยา บุษบา กัลป์ ราษฎร บุญย ศรี


หรือจะใช้วิธีจำแบบนี้อีกวิธีหนึ่งก็ได้

       ทยรับภาษาบาลีเข้ามาทางพระพุทธศาสนา และภาษาสันสกฤตเข้ามาทางศาสนาพราหมณ์

   ๑. สระและพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤต

   -ภาษาบาลี  มีสระ ๘ ตัว คือ   อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ  

   -สันสกฤต  เพิ่มจากบาลีอีก ๖ ตัว คือ ไอ  เอา    ฤๅ  ฦ  ฦๅ  รวมเป็น  ๑๔ ตัว

   ๒. พยัญชนะบาลี  มี ๓๓ ตัว แบ่งเป็น ๕ วรรค ๆ ละ ๕ ตัวตามฐานที่เกิดกับเศษวรรคอีก ๘ ตัว พยัญชนะสันสกฤต มีเหมือนบาลี ๓๓ ตัว และเพิ่ม   เข้าไป รวมเป็น ๓๕ ตัว

   ๓.  พยัญชนะบาลีแยกตามฐานที่เกิด(พยัญชนะวรรคนั่นเอง  ดูจากตารางข้างบนนะจ๊ะ)

   ๔. -รูปสระที่อยู่โดยลำพังมิได้ประสมกับพยัญชนะ  เรียกว่า  สระลอย”  
         -รูปสระที่ประสมกับพยัญชนะเรียกว่า
  สระจม
 



        คำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตมีหลักการสังเกตดังนี้

   ๑.ตัวสะกด ตัวตามที่เป็นพยัญชนะเดียวกันในภาษาบาลี ไทยลด ๑ ตัว เช่น สจฺจ - สัจ,
       นิจฺจ - นิจ,   กมฺม - กัม,   มนุสฺส - มนุส,  จิตฺต - จิตวิชฺชา - วิชา   ฯลฯ

   ๒. ตัวสะกด ตัวตามในภาษาบาลีต้องเป็นพยัญชนะในวรรคเดียวกัน   คือ

ตัวสะกด

ตัวตาม

ตัวอย่างคำ

พยัญชนะแถวที่  ๑

พยัญชนะแถวที่ ๑,๒

บุปผา,   สัจจะ,   ทุกข์

พยัญชนะแถวที่  ๓

พยัญชนะแถวที่ ๓,๔

อัชฌาสัย,   สัทธา

พยัญชนะแถวที่  ๕

พยัญชนะแถวที่ ๑,๒,๓,๔,๕

เบญจสัญญากัณฐ์,

ขันธ์,   สังข์

ภาษาไทยลดตัวสะกดในวรรค ฏะ ออก เหลือแต่ตัวตาม  เช่น  รฏฺฐ  ไทยใช้  รัฐ   วฑฺฒน  ไทยใช้  วัฒนา  วุฑฺฒิ  -  วุฒิ

   ๓. คำที่มี    มาจากภาษาบาลี   เช่น   กีฬา   จุฬา  

   ๔. ตัวสะกด ตัวตามในภาษาสันสกฤตไม่จำเป็นต้องอยู่ในวรรคเดียวกัน เช่น 
       มัธยม
 ภักดี อัคนี มารดา อัปสร  ศัพท์  ฯลฯ 

   ๕. คำควบกล้ำไม่ใช่ภาษาบาลี มาจากภาษาสันสกฤต เช่น ประถม จักร โคตร กริยา 
        นิทรา
 ปราโมทย์ ฯลฯ

   ๖. คำที่ประสมด้วยสระไอ เอา  ฤๅ  ฦๅ มีแต่ในภาษาสันสกฤต
       ไม่มีใช้ในภาษาบาลี
 (ยกเว้นคำว่า อังกฤษ)  เช่น ฤๅษี  ไมตรี เยาวชน 
นฤมล 
       คฤหัสถ์
 อมฤต ไพรี  เสาร์

   ๗. คำที่มี   (ยกเว้นคำที่ไทยยืมพยัญชนะมาใช้  ได้แก่ ศอก ศึก ศอก อังกฤษ

        ฝรั่งเศส)  เช่น ลักษมี เกษียณ  พฤษภาคม ศัลยกรรม ราษฎร เกษตร ฯลฯ

   ๘. ตัว ส ในภาษาสันสกฤตใช้กับพยัญชนะวรรคตะ เช่น พิสดาร สถาน สตรี สวัสดี ฯลฯ



สังเกตุเปรียบเทียบคำบาลี สันสกฤต และคำเขมร

คำบาลี

คำสันสกฤต

คำเขมร

๑.ตัวสะกดตรงตามกฎ

๑.ตัวสะกดไม่ตามกฎ

๑.ขึ้นต้นด้วย 
บัง บัณ บัญ บัน บำ บรร

ยกเว้น ง สะกด ง ตามไม่ได้

๒.มีสระ ๑๔ ตัว เพิ่ม
ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา

๒.ควบกล้ำและใช้อักษรนำ

๒.มีสระ 
อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ

๓.มีพยัญชนะเพิ่มคือ 
ศ ษ

๓.ใช้ตัวสะกด 
จ ร ล ญ

๓.มีพยัญชนะ 33 ตัว

๔.นิยมควบกล้ำและใช้อักษรนำ

๔.ขึ้นต้นด้วยสระ อำ

๔.ไม่ควบกล้ำและใช้อักษรนำ

๕.ใช้ 

๕.ส่วนมากเป็นคำสุภาพ

๕.ใช้ 

๖.ใช้ รร

๖.คำที่มี ข ผ นำ ไม่ประวิสรรชนีย์

๖.ใช้ ริ

๗.มีคำว่า เคราะห์

 

บางคำเมื่อนำมาใช้ในภาษา

 

 

ไทยถูกตัดตัวสะกดออก

 

 

คงจะเริ่มพอเข้าใจกันแล้วนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น